Thaiteenline-logo
home about law teens article hotline contact
 
     

มูลนิธิศูนย์ฮออทไลน์  เปิดบริหารให้คำปรึกษาแนะนำทางโทรศัพท์ (ฟรี)    กับหญิงชายและวัยรุ่นที่มีปัญหาชีวิต  ครอบครัว  คู่สมรส ปัญหาวัยรุ่น  เช่น  ความรัก  การเรียน  เพื่อน  ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ   ตลอดจนปัญหาสุขภาพกายคือโรคเอดส์  และโรคเพศสัมพันธ์ ฯลฯ  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2528  ในกรุเทพมหานคร  ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนในกรุงเทพฯ สูงมาก

อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากเป็นบริการให้คำปรึกษาแนะนำ  ที่ยังใหม่  สำหรับผู้มาใช้บริการ  ตลอดจนผู้ให้บริการคือ  Counselor  หรือนักศึกษาที่เพิ่งจบใหมด้านจิตวิทยา  และสังคมสงเคราะห์    ยังไม่มีประสบการณ์  แม้จะผ่านการฝึกอบรมจากอาจารย์อรอนงค์  อินทรจิตร  ผู้เชี่ยวชาญด้าน  การให้คำปรึกษาแนะนำกับวัยรุ่นและทุกเพศวัยมาแล้ว  แต่การนั่งรับฟังปัญหาผ่านทาง  “โทรศัพท์”  อาจทำให้เบื่อและไม่ได้รู้เห็นสภาพตามความเป็นจริงของวัยรุ่นได้  อาจารย์    อรอนงค์   นทรจิตร  จึงได้จัดโครงการ  เพื่อวัยรุ่นขึ้นสองโครงการ  เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีโอกาสพบปะพูดคุยและสามารถเข้าถึงปัญหาวัยรุ่นได้

โครงการนิสิตนักศึกษา เรียกว่า  Speak  Up  Group 
โดยเชิญชวนนักศึกษาทุกสถาบันที่สนใจปัญหาวัยรุ่น  หรือตัวเองมีปัญหาที่ต้องการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์  พูดคุยกับเพื่อน  ๆ  รุ่นเดียวกันต่างมหาวิทยาลัย   โดยนัดหมายมาพบกันที่  สำนักงานมูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์  ในวันเสาร์หรืออาทิตย์ที่ว่าง

วัตถุประสงค์ โครงการ Speak  Up  Group

  1. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการระบายหรือแสดงออกทางอารมณ์  ความรู้สึก  และปัญหาต่าง ๆ  ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิต  การพบปะพูดคุยปรับทุกข์  เป็นเรื่องปกติในการดำเนินชิวิตอย่างสร้างสรรค์
  2. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์วัยรุ่นที่ตนเผชิญอยู่  เช่นปัญหาความรัก  ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ  ปัญหาการเรียนการศึกษา  ปัญหาการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม  ปัญหาภายในครอบครัว  ตลอดจนปัญหารักเพศเดียวกัน  เป็นต้น
  3. หลังจากผ่านการทำความคุ้นเคยกับบริการของศูนย์ฮอทไลน์แล้ว  วัยรุ่นต้องการมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อประโยชน์ในสังคม   โดยการเข้ารับการฝึกอบรม จิตวิทยาในการ
    ติดต่อสื่อสาร เพื่อฝึกทักษะการให้คำปรึกษาขั้นต้น  หรืออีคิว
  4. นักศึกษารวมตัวกันเป็นกลุ่มอาสาสมัคร เพื่อทำประโยน์ให้สังคม
  5. และทีมงานอาสาสมัครรุ่นเยาว์  รุ่นแรกของฮอทไลน์เริ่มให้บริการโดยร่วมกับทีมนักจิตวิทยา  เข้าสู่โรงเรียนพระขโนงพิทยาคม  เพื่อให้ความรู้การเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย  และให้คำปรึกษาแนะนำกับวัยรุ่นตามโรงเรียนต่าง   ๆ  ตามแต่สะดวก

อาสาสมัครรุ่นแรก  หรืกสมาชิกลุ่ม Speak  Up  Group  ประกอบด้วย

  1. อดีต-นักศึกษาแพทย์ (ปัจจุบัน  นายแพทย์  กมล)
  2. อดีตเภสัชกร (ปัจจุบัน เภสัชกรหญิงจัน)
  3. อดีตนักศึกษานิเทศศาสตร์  (ปัจจุบัน  อาท)             
  4. อดีตนักศึกษาจิตวิทยา
  5. อดีตนักศึกษการบัญชี (ปัจจุบัน  ดร.  นรินทร์  กรินชัย)
  6. อดีตนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์
  7. อดีตนักกฎหมาย
  8. และอีกหลายสาขาวิชาชีพ

ปัจจุบัน  ทุกคนเติบโตประกอบอาชีพที่ดี  มีชีวิตครอบครัวที่มีความสุข ด้วยกุศลผลบุญจากการทำตัวเพื่อประโยชน์ต่อสังคมมาตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2529  และจากอาสาสสมัคร  (นักบัญชีรุ่นแรก) ปัจจุบัน  ได้กลายเป็น  นักจิตวิทยามืออาชีพ (ซีเนียร์) ในปัจจุบัน  ดร.  นรินทร์  กรินชัย ผู้ทำหน้าที่สอนทักษะ  Counseling  ในทุกวันนี้


โครงการ  ฮอทไลน์เคลื่อนที่สู่โรงเรียน  หรือ  Hotline  Mobile  to  School 
โดยเริ่มต้นจากโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร  โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในชุมชนแออัด  เช่นโรงเรียนพระโขนง    โรงเรียนนวมินทร์  หรือโรงเรียนสตรีเช่น  โรงเรียนสตรีวัดระฆัง  เป็นต้น   หลังจากนั้นจึงได้มีโครงการ  ฮอทไลน์เคลื่อนที่สู่โรงเรียนต่างจังหวัดในทุกภาคทั่วประเทศไทน

วัตถุประสงค์หลักของโครงการฮอทไลน์เคลื่อนที่สู่โรงเรียน

  1. เพื่อให้เด็ก  ๆ  เข้าถึงบริการปรึกษาแนะนำ(ฟรี)  ปัญหาชีวิต  ครอบครัว  เพื่อน  ความรัก  ปัญหาเพศสัมพันธ์  ตลอดจนปัญหาความขัดแย้งเรื่องการเรียน  ครูอาจารย์  ตลอดจนการปรับตัวเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
  2. เพื่อให้เด็กวัยรุ่นเรียนรู้ในการปกป้องสิทธิเด็ก  และการเคารพในสิทธิของผู้อื่น
  3. เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กวัยรุ่นตกเป็นเหยื่อ  ความรุนแรงในโรงเรียน  ในครอบครัวและชุมชน
  4. เพื่อกระตุ้นให้ครูแนะแนวและครูอาจารย์ในโรงเรียนต่าง จังหวัด  ให้มีความระแวดระไวกับปัญหาวัยรุ่นในสังคมปัจจุบัน
  5. เพื่อเสริมสร้างกำลังใจและขี้แนะแนวทาง  เทคนิคการให้ปรึกษาแนะนำวัยรุ่นแก่ครูอาจารย์ในโรงเรียนที่ห่างไกล
  6. เพื่อสร้างความระแวดระไวในกลุ่มผู้ปกครองและชุมชนว่า  สุขภาพใจก็เหมือนสุขภาพทางกาย  การไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา  ไม่ใช่เป็นความพ่ายแพ้ส่วนบุคคล แต่เป็นหนทางในการก้าวไปสู่การพัฒนาสุขภาพ  เพื่อชีวิตที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น
  7. เพื่อสร้างทัศนคติและค่านิยมในการดำรงชีวิตของชาวต่างจังหวัด  เพื่อปลีกเลี่ยงและป้องกันปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานในชนบทสู่กรุงเทพฯ
  8. ให้ความรู้พื้นฐานเรื่องการดูแลสุขภาพการและสุขภาพใจของตนเองให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์

วัตถุประสงค์รอง คือ

  1. นำทีมนักจิตวิทยารุ่นใหม่ออกฝึกภาคปฏิบัติ
  2. นำทีมอาสาสมัครรุ่นเยาว์  สมาชิก Speak  Up  Group  ออกให้บริการปรึกษาแนะนำด้านการเรียน  และปัญหาวัยรุ่น
  3. ผลัดเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน  จากการนั่งให้คำปรึกษาในสำนักงาน  ให้ออกไปเรียนรู้แบ่งปันประสบการณ์กับครูแนะแนว และวัยรุ่นนอกสำนักงานเพื่อความคุ้นเคยกับรูแบที่หลากหลายให้การให้บริการข้างหลังโทรศัพท์  และการเผชิญหน้าโดยตรง
  4. เป็นการเผยแพร่งานบริการด้านสุขภาพจิต  กับโรงเรียนและชุมชนทั่วไป

กระบวนการดำเนินงาน

  1. การพูดคุย  ให้ความรู้ในห้องประชุมรวม  และแบ่งแยกเป็นระดับชั้น  แต่ละห้องเรียน  เพื่อสร้างความสัมพันธ์  ตลอดจนเปิดโอกาสให้เด็ก  ๆ  ถามคำถามความสงสัย  แบ่งปันประสบการณ์กันและกัน เพื่อให้ตระหนักว่า  ปัญหาเป็นเรื่องปกติธรรมดาของีวิต
  2. นำโปสเตอร์  บทความ  เกี่ยวกับวัยรุ่นจัดบอร์ดแนะนำมูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์  ตลอดจนหมายเลขโทรศัทท์หน่วยงานที่เด็ก  ๆ  สามารถจะขอความช่วยเหลือ
  3. นำเอกสารด้านจิตวิทยาวัยรุ่น  จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น  จากโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา  และจากมูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์  เพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถค้นคว้าหาข้อมูล
  4. หลังจากเข้าห้องเรียนเพื่อพูดคุย  และแจกแบบสอบถาม  เพื่อตรวจสอบปัญหาเร่งด่วน  หรือฉุกเฉิน  เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทัน   ทางโรงเรียนจะจัดห้องให้นักจิตวิทยาสำหรับใช้ในการให้คำปรึกษาแนะนำเป็นรายบุคคล  หรือเป็ฯรายกลุ่มกรณีมีปัญหาเดียวกัน  เช่นปัญหาครอบครัว โดยพิจารณาจากแบบสอบถามที่นักเรียนระบุไว้
  5. กรณีให้ความรู้หรือทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการป้องกันตัวเองจากโรคเอดส์  จะแยกกิจกรรมออกจากปัญหาทั่วไป  แต่จะเน้นในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศหรือ Gender  และปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นรอบ  ๆ  ตัยบนพื้นฐานของควมสัมพันธ์หญิงชาย  เพื่อความชัดเจนและเหมาะสมกับเวลาที่จัดไว้

ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ฮอทไลน์เคลื่อนที่สู่โรงเรียน  โดยเฉพาะการเดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนต่างจังหวัด  ทีมนักจติวทยาจะเดินทางวันอาทิตย์  และเริ่มทำงานในโรงเรียนจาก  จันทร์ -  ศุกร์  และเดินทางกลับในวันเสาร์  รวมเวลาแต่ละครั้ง  7  วัน

คณะผู้ปฏิบัติงาน
นักจิตวิทยาซีเนียร์  หรือหัวหน้าทีมหนึ่งคน  กับลูกทีม  คือนักจิตวิทยาหรือและนักสังคมสงเคราะห์  3 – 5  คน  รวม  5  คนในการเดินทางแต่ละครั้

ค่าใช้จ่าย
ที่ผ่านมา  มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์  ใช้งบประมาณของศูนย์ฯ  ในการดำเนินงาน  แต่แนะนำให้ทางโรงเรียนจัดหาที่พักและอาหารฟรีระหว่าง  5  วันนี้  หรือกรณีที่โรงเรียนมีงบประมาณ  ก็จะเป็นผุ้จ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมทั้งค่าวิชาชีพนักจิตวิทยาด้วย

บันทึกรายงาน
หลังเสร็จงานแต่ละครั้ง  นักจิตวิทยาจะดำเนินการประเมินผลการดำเนินงาน  และสรุปปัญหาที่ได้จากนักเรียนทั้งหมด  เพื่อทำรายงานส่งกลับไปยังผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อพิจารณาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในโรงเรียนนั้น  ๆ

สรุปปัญหาของครูแนะแนว
ตลอดระยะกว่า  20 ปีของโครงการฮอทไลน์เคลื่อนที่สู่โรงเรียน  ซื่อแต่ละครั้งได้ทำรายงานสรุปปัญหาทั้งของนักเรียน  และของครูแนะแนวของโรงเรียนนั้น  ๆ  กลับไปเพื่อให้ผู้อำนวยการได้พิจารณา ศึกษาและหาทางปรับปรุงแก้ไขเพื่อประโยชน์ของนักเรียน  เพราะการจะคาดหวังให้ทีมนักจิตวิทยาจากมูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์เข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำกับนักเรียนตลอดไปคงไม่ได้   มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์มีข้อจำกัดคือ  บุคลากรจำกัด  และงบประมาณจำกัดจึงทำได้เท่าที่จะทำ  คือประมาณปีกละ  10 -  12  โรเงรียน  และบางปีก็อาจจะไปได้เพียง  1 -2   โรงเรียนเท่านั้น
ปัญหาที่ทีมนักจิตวิทยาพบและรวบรวมไว้เกี่ยวกับคุณภาพและศักยภาพของครูแนะแนวในหลาย  ๆ  โรงเรียนคือ

  1. นโยบายของโรงเรียนไม่ให้ความสำคัญกับการให้บริการด้านการให้คำปรึกษาแนะนำ  ถึงโรงเรียนจะมีตำแหน่ง “ครูแนะแนว” สำหรับครูที่เรียนจบด้านแนะแนว  แต่ตำแหน่งมีน้อย  ไม่เพียงพอในการดูแลช่วยเหลือเด็ก  ๆ  ด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกาย  ฝ่ายบริหารสนใจแต่เรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อเป็นสำคัญ  และบางโรงเรียนไม่มีตำแหน่งครูแนะแนว
  2. ครูแนะแนวมีทัศนคติไม่ถูกต้อง  ไม่ชัดเจนกับหน้าที่และงานการให้คำปรึกษาแนะนำ  ไม่มีความมั่นใจว่าจะช่วยเด็กได้ด้วยวิธีนี้  ขาดประสบการณ์ละการชี้แนะที่ถูกต้อง
  3. หัวหน้าครูแนะแนว  มองไม่เห็นคุณค่าของงานให้คำปรึกษาแนะนำวัยรุ่น  เน้นหน้าที่หลักด้านการติดต่องานนอกโรงเรียน   งานธุรการหรือติดต่อหาทุน  ทำให้ทีมครูแนะแนวที่อยู่ประจำมีงานเพิ่มขึ้น  เป็นภาระและขาดความมั่นใจในการทำงาน
  4. ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองให้ความสำคัญกับครูแนะแนวในฐานะผู้ทำงานติดต่อประสานงานภายนอกภายใน  การจัดกิจกรรมของโรงเรียน  ตลอดจนงานสารพัดอย่างที่ครูคนอื่นไม่ทำ  ก็จะส่งให้ครูแนะแนว จนมีคำพูดติดปากครูแนะแนวว่า  “ครูแนะแนวทำทุกอย่าง  ยกเว้นแนะแนว!”
  5. ครูแนะแนวมีความคิดว่า  ปัญหาของเด็ก  ๆ  เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องมี ปัญหาเด็กเป็นปัญหาที่มาจาครอบครัว  ครูไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้โดยตรง
  6. ครูแนะแนวขาดทักษะ  และประสบการณ์  ตลอดจนข้อมูลชีวิตในการให้คำปรึกษาแนะนำ
  7. ครูแนะแนวเองก็มีปัญหาส่วนตัวมากพอแล้ว  ไม่อยากนำปัญหาเด็กมาเพิ่มเป็นภาระอีก
  8. มากมายมองว่า  ครูแนะแนวทำแค่นี้ก็พอแล้ว  ทำไปก็ไม่มีใครเห็น  และอาจมีเรื่องขัดแย้งกับครูคนอื่น  ๆ
  9. หลายโรงเรียน  ครูแนะแนวไม่ได้เรียนจบด้านแนะแนว  แต่เป็นครูที่มีจิตใจดี  ไม่มีทักษะการให้คำปรึกษาแนะนำ  หรือเป็นครูที่สุขภาพกายไม่แข็งแรง  สุขภาพจิตไม่ดีมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน  จึงถูกส่งมานั่งในตำแหน่งนี้
  10. เด็ก  ๆ  ไม่สนใจจะมาปรึกษา  เพราะครูแนะแนวมีบุคลิกไม่ดีหรือมองว่าเป็นคนมีปัญหาอยู่แล้ว
  11. ขาดการประชาสัมพันธ์  เด็ก  ๆ  ทราบเพียงว่ามีฝ่ายแนะแนว  มีไว้เฉพาะเรื่องการเรียน  สำหรับข้อมูลในการเรียนต่อเท่านั้น
  12. ครูแนะแนวจำนวนมาก  โดยเฉพาะครูต่างจังหวัด  มีอาชีพสำรองหรืออาชีพที่สอง  ทำให้ขาดสมดุลในการทำงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
  13. ครูแนะแนวไม่มีเนื้อหาการสอนในชั่วโมงแนะแนว  รู้สึกว่าตัวเองสูญเสียอำนาจเมื่อต้องสอนเรื่องชีวิต  เพราะขัดกับการดำรงชีวิตของตัวเอง  จึงมุ่งแนะแนวเรียนต่อและอาชีพ  แม้ในชั้นที่ยังไม่จำเป็นต้องแนะแนวอาชีพหรือเรียนต่อ  ทำให้เด็กเกิดความสับสน  หรือการจัดกิจกรรมให้เด็กเล่น  แต่ไม่สามารถนำไปสู่จุดมุ่งหมายได้ ทำให้ชั่วโมงแนะแนวกลายเป็นชั่วโมงที่น่าเบื่อ  ไม่เห็นคุณค่าในการเรียน  ซึ่งผิดวัตถุประสงค์
  14. ครูแนะแนวไม่เห็นความสำคัญของวิชาแนะแนวหรือชั่วโมงแนะแนว จึงมักยอมให้ครูที่สอนวิชาอื่น  เข้ามาสอนวิชาของตนแทน  เพียงเหตุผลว่า  วิชาแนะแนวไม่มีคะแนน  ควรสละเวลาให้วิชาที่มีคะแนน
  15. ครูแนะแนวหลายคน  อุทิศตนให้กับงานแนะแนวมาก จนขาดสมดุล  เด็ก  ๆมีความสัมพันธ์อย่างไม่ถูกต้องกับครู  เพราะครูมองว่าตนเองเป็นแม่พระ  ช่วยประคับประคองเด็ก  ในที่สุดเด็กต้องพึ่งพิงครู  และช่วยตัวเองไม่ได้  ในทางตรงกันข้าม  เด็อาจไม่อยากรบกวนครู  เพราะเห็นครูมีงานมาก สงสารครู  ทำให้ครูพลาดโอกาสที่จะช่วยเด็ก
  16. ครูแนะแนวมีปัญหา  พ่อแม่ผู้ปกครองเด็ก ๆ  ไม่ให้ความร่วมมือ  เนื่องจากครูแนะแนวไม่สามารถแยกแยะได้ชัดเจนว่า  อะไรคือปัญหาเด็ก  อะไรคือปัญหาครอบครัวของเด็ก ๆ
  17. ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมต่าง ๆในสังคมไทยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างมากและอย่างรวดเร็วในทุก  ๆ  เรื่อง  รวมทั้งเรื่อง  ความสัมพันธ์ในครอบครัว  สังคม   ชุมชน  เศรษฐกิจการเมือง  และเทคโนโลยี่สมัยใหม่  แต่ครูแนะแนวส่วนใหญ่ยังขาดประสบการณ์  และขาดทักษะในการให้คำปรึกษาแนะนำที่สอดคล้อง  และตอบสนองต่อความต้องการของเด็ก  ๆ  ได้  ทำให้ขาดความมั่นใจ  และไม่สามารถช่วยเหลือเด็ก  ๆ ที่มีปัญหาได้อย่างเหมาะสมเพียงพอ
  18. ครูแนะแนว  จำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพ  และคุณภาพในการทำงาน  โดยเฉพาะการฝึกฝนให้มีประสิทธิภาพในการทำงานกับเด็กนักเรียนได้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

โครงการฝึกอบรมครูแนะแนว
สถาบันจิตวิทยาฮอทไลน์  มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์  ได้จัดหลักสูตร  ฝึกอบรมทักษะการให้คำปรึกษาแนะนำวัยรุ่น   ให้กับครูแนะแนว  ทั้งขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง  เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพการทำงานของครูแนะแนว  ตลอดจนเพิ่มความมั่นใจให้กับครูอาจารย์ในการช่วเยหลือวัยรุ่นที่มีปัญหาทั้งสุขภาพใจ  และสุขภาพกายในสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน  นั่นคือ

  1. ทักษะการให้คำปรึกษาแนะนำวัยรุ่น  (ขั้นต้น)   5  วัน
  2. ทักษะการให้คำปรึกษาแนะนำวัยรุ่น  (ขั้นต่อเนื่อง)   5  วัน  หรือ   3  วัน ลงภาคปฏิบัติ
  3. ทักษะการให้คำปรึกษาแนะนำวัยรุ่น  (ขั้นต่อเนื่อง)  3  วัน ลงภาคปฏิบัติเฉพาะเรื่อง
  4. ทักษะการให้คำปรึกษาแนะนำวัยรุ่น (ขั้นต่อเนื่อง)  3  วันลงภาคปฏิบัติเฉพาะเรื่อง
    ฯลฯ

(หากต้องการทราบว่า  ครูแนะแนวที่ผ่านการอบรม  ประเมินผลการเรียนการฝึกของตนเองอย่างไร  เปิดดูได้ที่  www.thaicounsel.com  )  ติดต่อสอบถามค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมได้ที่  02  277  8811  และ  02 277  7699

ปัญหาของวัยรุ่น
ตลอดเกือบสามสิบปีมานี้   ได้รวบรวมคำถามของวัยรุ่นที่ ปรึกษามาโดยตรง  หรือผ่านทางจดหมาย  หรือผ่านทางเวบไซด์ ฯลฯ  มามากมาย  ส่วนหนึ่งตอนต้น ๆ  ได้รวบรวมคำถาม  คำตอบไว้เป็นเล่ม  เพื่อเด็ก  ๆ  จะได้อ่าน  เป็นการแบ่งปันประสบการณ์  และเป็นเสียงสะท้อนให้เห็นว่า  ไม่ว่าจะเป็นปีไหน  เมื่อไร  วันเวลาจะผันเวียนเปลี่ยนไปนานแค่ไหน  วัยรุ่นส่วนใหญ่ก็ยังจะคงมีปัญหาที่คล้าย ๆ  กัน  หรือไม่แตกต่างจากกันเท่าไร  ลองหาหนังสือ  “แนะหนู”  ของสถาบันจิตวิทยาฮอทไลน์  มูลนิธิศูนย์ฮออทไลน์  อ่านแล้วจะเข้าใจวัยรุ่นมากขึ้น

 
 
  Counter 599
 
 
© 2012 Thaiteenline. All Rights Reserved. หน้าหลัก | ความเป็นมา | กฎหมายเด็กและครอบครัว | วัยรุ่นอยากรู้ | บทความวัยรุ่น | ฮอทไลน์เคลื่อนที่ | ติดต่อเรา